เค้กส้มโบราณ ขนมเค้กมาจากไหน? หากจะกล่าวถึงขนมหวานที่มีมาเต่โบราณกาลนั้น คงจะหนีไม่พ้นเค้กส้มโบราณ หรือเค้กแยมส้ม ที่วางขายกันในร้านสะดวกซื้อ 7-11ที่มักจะนำมาเป็นขนมจัดเบรคได้อีกด้วย บทความนี้มีสูตรแยมส้มที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ
สูตรทำ เค้กส้มโบราณ หรือ เค้กแยมส้ม มีส่วนผสมดังต่อไปนี้
สำหรับส่วนผสมตัวเค้กโบราณ
- เนยสดเค็มละลาย 135 กรัม
- แป้งเค้กพัดโบก 170 กรัม
- ผงฟู 1 ช้อนชา
- วนิลาผง 2 ช้อนชา
- ไข่ไก่เบอร์ 2 5 ฟอง
- น้ำตาลทรายละเอียด 50 กรัม
- นมข้นจืด 85 กรัม
- SP 15 กรัม
- ส่วนผสมแยมส้ม
- ท็อปปิ้งรสส้มตราควีน 500 กรัม
- สเปรดส้ม Best Food 500 กรัม
- น้ำส้มซันควิก 30 กรัม
- เกลือ 1/4 ช้อนชา
- ส่วนผสมบัตเตอร์ครีม
- เนยขาว 120 กรัม
- มาการีน 250 กรัม
- หัวนมผง 50 กรัม
- นมข้นหวาน 600 กรัม
วิธีทํา เค้กส้มโบราณ ?
สำหรับกรรมวิธีทํา เค้กส้มโบราณ
ขั้นตอนแรกเริ่มจากละลายเนยสด พักไว้ จากนั้นจึงร่อนแป้ง ที่ผสมผงฟู และวนิลาผงพักไว้ ต่อมานำไข่ไก่ ผสม น้ำตาลทราย ผสม นมข้นจืด ตีส่วนผสมให้เข้ากัน
ขั้นตอนถัดไป ตามด้วยแป้งที่ร่อนไว้แล้วตีส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้น ตีต่อด้วยความเร็วสูงสุดให้ส่วนผสมขึ้นฟูจนมีลักษณะเป็นครีม จากนั้นลดความเร็วเป็นความเร็วต่ำสุด ตีตัดอากาศสักครู่จากนั้นปิดเครื่อง
ขั้นตอนต่อมาให้นำส่วนผสมที่ตีได้ที่แล้ว แบ่งออกเล็กน้อยเพื่อผสมกับเนยละลายที่พักไว้ตอนแรก คนส่วนผสมให้เข้ากันแล้วเทกลับลงไปในอ่างผสม จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอีกรอบ
จากนั้นตักส่วนผสมใส่พิมพ์ประมาณ 3/4 ถ้วย วันนี้ที่ทำใช้ถ้วยกระดาษเบอร์ 3 220 รองอยู่ในพิมพ์ขันข้าว ได้ประมาณ 18 ถ้วยค่ะแล้วจึงนำเข้าอบ ความร้อน 160-170 องศา ไฟบน-ล่าง 12 นาทีหรือจนกว่าเค้กสุกหลังจากนั้นนำออกจากเตาแล้วเคาะออกจากพิมพ์วางบนตะแกรงให้คลายร้อน
สำหรับกรรมวิธีทํา แยมส้ม
เริ่มจากนำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟ แล้วจึงใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมละลายเป็นเนื้อเดียวกันจนกระทั่งเดือด ยกลงพักให้เย็นนำไปแต่งหน้าเค้กได้เลย
ต่อมาเป็นกรรมวิธีทำบัตเตอร์ครีม
ขั้นตอนแรกให้นำ เนยขาว ผสมมาการีน และหัวนมผง ตีให้ขึ้นฟูด้วยหัวใบไม้ ต่อจากนั้นนำเนยขึ้นฟูดีแล้วค่อยๆ เทนมข้นหวาน ตามลงไปตีให้เข้ากัน แล้วนำไปแบ่งสีตามชอบได้เลยค่ะ
ประวัติของขนมเค้ก ?
คำว่า “ขนมเค้ก” (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีรสหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่ ผัก และผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน ไม่ว่าจะเป็น เนย ชีส ยีสต์ นม เป็นต้น โดยนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร ขนมเค้กมีหลากหลายชนิด อาทิ ชีสเค้ก ฟรุตเค้ก แพนเค้ก เค้กเนยสด และแยมโรล อีกด้วย
นอกจากนี้ ขนมเค้ก มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) มาจากคำว่า “kaka” ประวัติเริ่มจากปี ค.ศ. 1843 นักเคมีชาวอังกฤษชื่อ อัลเฟรดเบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) ได้ค้นพบ “ผงฟู” (baking powder) ขึ้น ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ได้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เนื่องมาจากภรรยาของเขา (Elizabeth) เป็นโรคภูมิแพ้อาหารที่มีส่วนผสมของไข่และยีสต์
ส่วนที่มาของขนมเค้กในวันเกิด ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วพบได้ว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของธรรมเนียมการใช้เค้กเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการฉลอง วันเกิดนั้นมีด้วยกันหลากหลายทฤษฎี บางคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหารเชื่อว่า เค้กวันเกิดมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เนื่องจากคนสมัยก่อนชอบทำขนมอบจำพวกขนมเค้กและขนมปังเพื่อใช้บูชาในงาน พิธีกรรมทางศาสนา งานแต่งงาน งานศพ รวมถึงงานวันเกิดด้วยในขณะที่บางคนเชื่อว่าเริ่มขึ้นในยุคกลาง (middle Ages ) ซึ่งในสมัยกรีกมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานเค้กวันเกิดระบุเอาไว้ว่าเป็นขนมหวานสำหรับบูชาเทพีจันทรา โดยชาวเมืองกรีกนิยมทำเค้กน้ำผึ้งหรือขนมปังหวานรูปวงกลมเพื่อนำไปบูชาเทพจันทราที่วิหารอาร์เทอมิสอีกด้วยค่ะในขณะเดียวกันกับที่นักทฤษฎีบางสำนักเชื่อว่า จุดเริ่มต้นของเค้กวันเกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีช่วงยุคกลาง ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสนาคริสต์ โดยชาวคริสต์จะทำขนมปังหวานเป็นรูปพระเยซูทรงอยู่ในผ้าห่อตัวในประสูติ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์และในเวลาต่อมา ชาวเมืองเบียร์ก็เลยได้ไอเดียใหม่ๆ ทำเค้กเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่เด็กๆและจากนั้นมา ธรรมเนียมเช่นนี้ก็ถูกปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ทว่าสำหรับประวัติขนมเค้กในประเทศไทยนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปมากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ้กกี้ จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเลยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับสูตรของขนมเค้กโบราณที่ได้นำมาฝากนั้นมีกรรมวิธีการกระบวนการขั้นตอนในการทำไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะค่ะ นอกจากจะสามารถทำเค้กโบราณได้ง่ายๆแล้วยังสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้อีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะการนำขนมมาทำเป้นของว่างนั้นเองค่ะ ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนยังได้นำเกร็ดความรู้ประวัติของขนมเค้กซึ่งมีที่มาที่ไปอย่างไรนั้นมาฝากทุกคนอีกด้วยค่ะ