คีโต คือ การเลือกไม่กินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (อาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก) หรือรับประทานให้ได้น้อยกว่า 50 กรัมต่อวัน แต่เลือกรับประทานอาหารจำพวกไขมันและโปรตีนทดแทนในสัดส่วนที่มากกว่า การรับประทานอาหารให้ลักษณะนี้จะทำให้เกิดภาวะที่เยกว่า Ketosis ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ช่วยลดน้ำหนักในกรณีของบุคคลทั่วไป ใช้บรรเทาอาการของโรคบางประเภทให้กับผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และภาวะอ้วนลงพุงผิดปกติ (Metabolic syndrome) ทำให้รูปแบบการรับประทานอาหารแบบนี้เริ่มได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์และข้อควรระวังของอาหาร คีโต คือ อะไร
การรับประทานอาหารคีโตนั้นมีทั้งข้อดี และข้อควรระมัดระวังหลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของผู้รับประทานเป็นสำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประโยชน์ของอาหารคีโต คือ
- อาหารคีโตช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากการรับประทานอาหารคีโตอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มระดับสารคีโตนในเลือด ทำร่างกายรู้สึกหิวลดลง จึงรับประทานได้น้อยลง
- ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสลายไขมัน ช่วยให้ร่างกายสามารถนำไขมันที่ร่างกายสะสมเอาไว้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปนั่นเอง
- ช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพในผู้ป่วยโรคบางชนิด เช่น ลดการเกิดอาการชักในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก ช่วยลดปัญหาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ช่วยรักษาระดับอินซูลินให้คงที่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
อย่างไรก็ดี การรับประทานอาหารคีโตในบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือผลข้างเคียงได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ผลข้างเคียงจากความไม่สมดุลในการรับประทานอาหารคีโต คือภาวะการขาดสารอาหาร หรือเกิดอาการท้องผูกเพราะรับประทานผัก ผลไม้ หรืออาหารบางอย่างน้อยเกินไป
- ผลกระทบต่อร่างกาย บางครั้งการรับประทานอาหารคีโตก็จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว โดยในระยะสั้นบางคนอาจรู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ ภาวะสมองเหนื่อยล้า ท้องไส้ทำงานไม่ปกติ หรือภาวะที่เรียกว่า Keto flu แต่บางคนอาจเกิดผลกระทบระยะยาวอย่างนิ่วในไต การทำงานของตับผิดปกติ ไขมันพอกตับ และโรคกระดูกพรุน หรือบางคนอาจเกิดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ (Eating disorder) ได้ ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เกิดกลิ่นปากและกลิ่นตัวได้
กรณีผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต้องการรับประทานอาหารคีโต ขอแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานคีโต โดยผู้ป่วยโรคที่จะกล่าวต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จำเป็นต้องรับประทานยา หรือฉีดยาเพื่อควบคุมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบจากการรับประทานคีโต คือโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำอย่างผิดปกติ จนเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้
- ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ เนื่องจากตับเป็นอวัยวะสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงานทดแทนคาร์โบไฮเดรค หากในผู้ที่ตับทำงานผิดปกติอยู่แล้ว เมื่อรับประทานคีโตก็อาจส่งผลให้ตับยิ่งทำงานอย่างผิดปกติมากขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไตทำงานผิดปกติ เพราะการรับประทานคีโต คือการจำกัดคาร์โบไฮเดรค และเพิ่มการทานโปรตีนในปริมาณมาก ๆ กว่า 20-35% ซึ่งสามารถส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติมากขึ้นได้
- ผู้ที่มีปัญหาทางพันธุกรรมเกี่ยวกับการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ หรือระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติเมื่อรับประทานคีโตที่เน้นไขมันและโปรตีนอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน อาการของโรคคือภาวะการบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ การรับประทานอาหารคีโตที่มีไขมันสูง ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการท้องอืดได้ง่าย
- ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนคืออวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยที่ใช้ย่อยอาหารจำพวกไขมัน หากตับอ่อนอักเสบและทำงานผิดปกติ จะทำให้ร่างกายผลิตน้ำย่อยไขมันได้น้อยกว่าปกติ
การรับประทานอาหารคีโตให้ปลอดภัย คือ
แม้ว่าจุดประสงค์ที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนหันมารับประทานอาหารคีโต คือประโยชน์ในการลดน้ำหนัก ซึ่งมีผลงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้จริง แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการรับประทานอาหารคีโตนั้นขึ้นกับภาวะร่างกายของแต่ละคน หลายคนอาจต้องใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี และบางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างภาวะการขาดสารอาหาร หรือร่างกายเกิดการขับถ่ายที่ผิดปกติ ดังนั้นผู้ที่สนใจจะรับประทานคีโตควรคำนึงถึงสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการรับประทาน และส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย หรือหากมีอาการของโรคบางประเภท อาจต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทานคีโต เพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อการรักษาโรคได้

อาหารที่เป็นคีโต คืออะไร วิธีการรับประทานที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร
ประเภทของอาหารคีโต คืออาหารที่มีโปรตีน หรือไขมันสูง แต่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ โดยมีวัตถุดิบคีโต ดังนี้
- เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงอย่างเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเบคอน
- เนื้อปลาที่มีไขมันสูง ปลาทะเลอย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาจาระเม็ดขาว ปลาน้ำจืดอย่างปลาดุก และปลาสวาย เป็นต้น
- ไข่ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ หรือไข่เป็ด ซึ่งสามารถทำเมนูต่าง ๆ ได้หลากหลาย
- ผลิตภัณฑ์จากนม อย่างครีมชีส วิปครีม เนยสด เชดดาชีส บลูชีส หรือมอซซาเรลล่าชีส
- ถั่วและธัญพืช เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัต เมล็ดฟักทอง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดแตงโม หรือเมล็ดเจีย
- น้ำมันหรือไขมันที่ดีต่อสุขภาพ น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดชา หรือน้ำมันหมูออร์แกนิก เป็นต้น
- ผักที่มีคารโบไฮเดรตต่ำ ผักใบเขียว อย่างผัดสลัดชนิดต่าง ๆ ผักคะน้า หรือผักโขม เห็ดชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ มะเขือม่วง มะเขือกยาว หอมหัวใหญ่ พริกหวาน ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง แตงกวาญี่ปุ่น หรือกระเทียม
- ผลไม้ที่มีคารโบไฮเดรตหรือน้ำตาลต่ำ อย่างอะโวคาโด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่างเลมอน หรือมะนาว
- เลือกใช้เครื่องปรุงรสจากธรรมชาติอย่างเกลือ พริกไทย สมุนไพร และเครื่องเทศชนิดต่าง ๆ
การประกอบอาหารคีโตที่ถูกต้อง ก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การรับประทานอาหารคีโตเกิดประโยชน์ที่ดีที่สุด โดยวิธีการประกอบอาหารคีโต คือ
- การทำน้ำพริกปลาย่างกับผักลวกชนิดต่าง ๆ เป็นการปรุงอาหารด้วยการย่างและลวกเป็นหลัก ให้คุณค่าทางอาหารสูงเพราะอุดมไปด้วยพืชผักนานาชนิด
- การย่างและรับประทานกับน้ำสลัดจากธรรมชาติ การย่างที่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติอย่างเกลือ และเครื่องเทศบางชนิด ร่วมกับน้ำสลัดที่ทำจากอะโวคาโด หรือโยเกิร์ตถือเป็นอาหารคีโตที่มีรสชาติดี และคุณค่าทางอาหารสูง
- การทำซุปปลา และผัก ถือเป็นรูปแบบการทำอาหารคีโตที่รับประทานง่าย และอุดมไปด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

เครดิต:: สล็อตออนไลน์ สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์